ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ About Us
21 Jan 2025

ปรัชญา (Philosophy)
แหล่งวิชาชีพ วิชาชีวิต สู่งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม นำชุมชน

วิสัยทัศน์ (Vision) 
มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้านทักษะ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ บูรณาการเพื่อท้องถิ่น

พันธกิจ (Mission)
1. ผลิตบัณฑิตสายวิชาชีพให้มีสมรรถนะและมาตรฐานระดับสากล ยกระดับวิชาชีวิตอย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลง
2. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและสถานประกอบการที่มีสมรรถนะสูง
3. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมแบบบูรณาการ และผลงานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
4. ยกระดับการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่มีผลกระทบต่อชุมชนและท้องถิ่น อนุรักษ์พัฒนา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 
5. ยกระดับสมรรถนะบุคลากร ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และพัฒนาการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยมหลัก (Core Value) 
Concept STRONG 
Sustainable Transformation
S : การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
Technological Innovation
T : บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อท้องถิ่น
Resource Optimization
R : การบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีธรรมาภิบาล
Opportunities for All
O : สร้างโอกาสสำหรับทุกคน
Nurturing Talent
N : เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูง
Global Connectivity
G : ขยายโอกาสการเรียนรู้สู่สากล

อัตลักษณ์ของคณะ : นวัตกรรม นำชุมชน

อัตลักษณ์ของบัณฑิต : สำนึกดี  มีความรู้ พร้อมสู้งาน

เป้าหมายผลสัมฤทธิ์
1. บัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรู้ มีทักษะทางด้านวิชาชีพ มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความสามารถในการเริ่มต้นธุรกิจ มีทักษะในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ
2. มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบทางวิชาการสูง สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ท้องถิ่น สังคม และประเทศ 
3. มีศูนย์การบริการความรู้และคำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเริ่มต้นธุรกิจ สำหรับท้องถิ่น
4. มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล และเน้นการมีส่วนร่วม


ประวัติ และความเป็นมาของคณะ
  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานทางวิชาการในมหาวิทยาลัย ที่รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาของสถาบัน ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นพัฒนาคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีประวัติความเป็นมา ดังนี้
พ.ศ. 2502 วิทยาลัยครูนครราชสีมา และเริ่มเปีดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง ต่อจากระดับ ป.กศ.)
พ.ศ. 2510 เริ่มผลิตครูประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) โดยรับผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าเข้าเรียน เป็นหลักสูตรการเรียน 1 ปีมีหมวดวิชาศิลปหัตถกรรม รับผิดชอบการสอนสาขาวิชาศิลปหัตถกรรม สอนด้านงานปั้นงานจักสานงานถักทองานประดิษฐ์งานหวายและงานช่างต่าง ๆ
พ.ศ. 2517 ได้แยกหมวดวิชาศิลปหัตถกรรมออกเป็น 2 หมวด คือ หมวดวิชาศิลปะ และหมวดวิชาหัตถศึกษาหมวดวิชาหัตศึกษาสอนเฉพาะกลุ่มงานช่างได้แก่ วิชาเขียนแบบช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างยนต์ และช่างปั้น จัดสอนในกลุ่มวิชาพื้นฐานและวิชาโท ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากหมวดวิชา หัตถศึกษา เป็นหมวดวิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ สังกัดคณะวิชาวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สอนถึงระดับปริญญาตรีแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัย คือ สำนักงานอธิการบดี คณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2519 สภาการฝึกหัดครู เปิดหลักสูตรอุตสาหกรรมศิลป์ในระดับปริญญาตรี จัดเป็นวิชาเอกแบบกว้าง ไม่มีวิชาโท รับผิดชอบโดยภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ สังกัดอยู่กับคณะวิชาวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2524 ภาควิชาหัตถศึกษา และอุตสาหกรรมศิลป์ได้เปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการอาชีพ (ทอ.) สาขาก่อสร้างและสาขาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พ.ศ. 2538 เริ่มใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ ภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์เปลี่ยนชื่อเป็นวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีการปรับจากระบบภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา โดยภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์แบ่งเป็น 5 โปรแกรมวิชา คือ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เซรามิกส์) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (อิเล็กทรอนิกส์) และโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
พ.ศ. 2543 สถาบันราชภัฏนครราชสีมา แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการเพื่อจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 เสนอโครงการต่อสภากรรมการวิชาการ และสภาประจำสถาบัน ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปีการศึกษา 2545
พ.ศ. 2545 สถาบันราชภัฏนครราชสีมา มีคำสั่ง ที่ 371/2545 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนทำการเปิดสอนในปีการศึกษา 2545 และมีคำสั่งที่1033/2545 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการในปีการศึกษา 2545 มี 6 โปรแกรมวิชา คือ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เซรามิกส์) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) และ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (สถาปัตยกรรม)
พ.ศ. 2547 มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถาบันราชภัฏ โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548 มีประกาศกฎกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏครราชสีมา และยกฐานะโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เปิดสอนระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม สถาปัตยกรรม ก่อสร้าง เชรามิกส์ และออกแบบ
พ.ศ. 2552 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีการบริหารงานรูปแบบโปรแกรมวิชาโดยแบ่งเป็น 4 โปรแกรมวิชา คือโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง โปรแกรมจัดการอุตสาหกรรม และโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ 3 โครงการหลักสูตร คือ หลักสูตรสถาปัตยกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรมศึกษา และหลักสูตรเทคโนโลยีเซรามิกส์
พ.ศ. 2554 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
พ.ศ. 2555 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
พ.ศ. 2557 เปีดรับนักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
พ.ศ. 2558 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีการบริหารงานรูปแบบโปรแกรมวิชา จำนวน 7 โปรแกรมวิชา ได้แก่ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเซรามิกซ์ โปรแกรมวิชาการจัดการอุตสาหกรรมโปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โปรแกรมวิชาสถาปัตยกรรม และโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมศึกษา และเปิดรับนักศึกษาจำนวน 10 หลักสูตร
พ.ศ. 2559 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีการบริหารงานรูปแบบหลักสูตร มีหลักสูตรที่เปิดสอน จำนวน 3หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง (4 ปี)สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (4 ปี) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์   (4 ปี) สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (4 ปี) และสาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (ต่อเนื่อง) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา และหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
พ.ศ. 2560 หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มีการปรับปรุงหลักสูตรและเปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2561 หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ มีการปรับปรุงหลักสูตรและเปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์
พ.ศ. 2562 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง (4 ปี) ปรับปรุงหลักสูตรเป็น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (4 ปี) ปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม และหลักสูตรครุ ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรเป็น หลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
พ.ศ. 2565 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม ปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบปกติ  หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์ ปรับปรุงหลักสูตรร่วมกันเป็นหลักสูตร ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ อยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2566  หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) ปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม (ต่อเนื่อง)  หลักสูตรสถาปัตยกรรม ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบปกติ หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (ต่อเนื่อง) ปรับปรุงหลักสูตร  เป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้าง ปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการก่อสร้างและโลจิสติกส์ หลักสูตรใหม่อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาสถาปัตยกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษา ปีการศึกษา 2566


ตราสัญลักษณ์คณะ